ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ

2552/08/30

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของเหลวที่ได้มาจากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ ลักษณะสดหรือ อวบน้ำ โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ได้เป็นของเหลวออกมาจากพืชหรือสัตว์ ประกอบด้วยกรดอินทรีย์และฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตหลายชนิด

อุปกรณ์ส่วนผสมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1. ปลาหรือหอยเชอรี่ 3 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน ผลไม้ 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน ใช้เวลาหมัก 21 วัน
2. ผักหรือผลไม้ 4 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วนใช้เวลาหมัก 7 วัน
3. ใช้สารเร่ง พด.2 1 ถุง ขนาด 50 กรัม ผลิตได้จำนวน 100 ลิตร
วิธีผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1. ละลายสารเร่ง พด.2 ในน้ำ 30 ลิตร ผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
2. ผสมเศษวัสดุและกากน้ำตาลลงในถังหมักขนาด 200 ลิตรแล้วเทสารละลาย พด.2 ในข้อ 1 ผสมลงในถังหมัก
3. คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันอีกครั้งและตั้งในอยู่ที่ร่ม
4. ในกรณีทำปุ๋ยอินทรีย์ปลา หรือ หอยเชอรี่ให้คนหรือกวน ทุก 7 วันเพื่อระบาย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท
การพิจารณาลักษณะที่ดีทางกายภาพในระหว่างการหมักเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1. การเจริญของจุลินทรีย์ ปรากฏเชื่อยีสต์และจุลินทรีย์ชนิดอื่นเจริญเต็มผิวหน้าของวัสดุหมักในช่วง 1-3 วันการหมัก
2. การเกิดฟองก๊าซ (CO2) มีฟองก๊าซเกิดขึ้นที่ผิวหน้าวัสดุและใต้ผิดวัสดุหมัก
3. การเกิดกลิ่นแอลกอฮอล์ ได้กลิ่นของแอลกอฮอล์ ค่อนข้างฉุนมาก
4. ความใสของสารละลาย เป็นของเหลวใสไม่ขุ่นและค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม
การพิจารณาปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่เสร็จสมบูรณ์
1. มีการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ น้อยลง
2. กลิ่นแอลกอฮอล์จะลดลง
3. มีกลิ่นเปรี้ยวเพิ่มขึ้นเนื่องจากเกิดกรดอินทรีย์เพิ่มขึ้น
4. ไม่ปรากฏก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือมีน้อยมาก
5. ได้สารละลายหรือของเหลวใสไม่ขุ่น
6. การวิเคราะห์สมบัติทางเคมี ค่าความเป็นกรดและด่างหรือ pH ของปุ๋ยอินทรีย์ระหว่าง 3-4
คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1. มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติค กรดอะซิติคและกรดฮิวมิค
2. มีฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ออกซิเจน ไซโตไคนิน และจิบเบอร์เรลลิน
3. มีค่าเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 3-4
อัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำกับพืช
ผสมปุ๋มอินทรีย์น้ำ 1 ส่วน กับน้ำ 500 ส่วน
วิธีใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ฉีดพ่นที่ใบและลำต้น หรือรดลงดิน 10 วัน ต่อครั้ง
ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1. เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
2. การขยายตัวของใบเพิ่มขึ้น และมีการยืดตัวของลำต้นมากขึ้น
3. ชักนำให้เกิดการงอกของเมล็ด
4. ส่งเสริมการออกดอกและติดผลดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: