ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ

2552/08/30

การทำปุ๋ยอินทรีย์

การทำปุ๋ยอินทรีย์
1 .มาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพดี ได้มาตรฐานให้พิจารณาดังนี้
1. มีเกรดปุ๋ยไม่ต่ำกว่า 1:1:0.5 (ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม)
2 .มีความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ไม่
มากกว่าร้อยละ 35 - 40 โดยน้ำหนัก
3 .ความชื้นเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0 - 7.5
4 .ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ได้แล้วจะต้องไม่มีความร้อนหลงเหลืออยู่
5. ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ได้แล้วไม่ควรมีวัสดุเจือปนอื่น ๆ
6 .จะต้องมีปริมาณอินทรีย์วัตถุอยู่ระหว่าง 25 - 50 %
7 .จะต้องมีอัตราส่วนระหว่างธาตุคาร์บอนต่อไนโตรเจนไม่มากกว่า 20 ต่อ 1
8 .มีค่าการนำไฟฟ้าไม่เกิน 3.5 เดซิซีเมนต่อเมตร
2 .การเลือกวัสดุที่ใช้หมัก
วัสดุที่สามารถนำมาใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่เศษซากของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ แต่โดยปกติแล้ว ใน บ้านเราส่วนใหญ่จะได้มาจากพืชมากกว่า ดังนั้น วัสดุที่ใช้หมักจึงเพ่งเล็งไปถึงการใช้เศษซากพืชเป็นสำคัญ ซึ่งก็มีอยู่มากมาย หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นเศษพืชที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการ เกษตร เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ต้นข้าวฟ่าง ต้นถั่ว ฝ้าย เศษผัก กากอ้อย แกลบ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ผักตบชวา เศษหญ้า หรือวัชพืชต่างๆ แม้แต่พวกเศษขยะตามอาคารบ้านเรือน เช่น เศษกระดาษ ใบตอง กิ่งไม้ใบไม้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถรวบรวมมาทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ทั้งสิ้น วัสดุเหล่านี้เมื่อนำมา ทำปุ๋ยอินทรีย์ บางชนิดก็ย่อยสลายได้ง่าย รวดเร็ว บางชนิดก็ย่อยสลายได้ช้า ขึ้นอยู่กับเนื้อของวัสดุเหล่านั้น ว่ามีส่วนที่จุลินทรีย์สามารถใช้เป็นอาหารได้ยาก หรือง่าย และมีแร่ธาตุอาหารอยู่พอเพียงกับความต้องการของจุลินทรีย์หรือไม่

ตาราง ค่าเฉลี่ยปริมาณธาตุไนโตรเจนที่มีอยู่ในวัสดุชนิดต่างๆ

ชนิดของวัสดุ ปริมาณธาตุไนโตรเจน
(กิโลกรัม ต่อ วัสดุแห้ง 100 กิโลกรัม )
ตะกอนน้ำเสีย 2.0-6.0
มูลเป็ด – ไก่ 3.5-5.0
มูลสุกร 3.0
ต้นถั่วต่างๆ 2.0-3.0
ผักตบชวา 2.2-2.5
มูลม้า 2.0
มูลวัว – ควาย 1.2-2.0
เปลือกถั่วลิสง 1.6-1.8
ต้นฝ้าย 1.0-1.5
ต้นข้าวฟ่าง 1.0
ต้นข้าวโพด 0.7-1.0
ใบไม้แห้ง 0.4-1.5
ฟางข้าว 0.4-0.6
หญ้าแห้ง 0.3-2.0
กาบมะพร้าว 0.5
แกลบ 0.3-0.5
กากอ้อย 0.3-0.4
ขี้เลื่อยเก่า 0.2
ขี้เลื่อยใหม่ 0.1
เศษกระดาษ แทบไม่มี

ควรสับหรือหั่นให้มีขนาดเล็กลง แต่ก็ไม่ควรให้สั้นกว่า 2-3 นิ้ว การทำให้ เศษพืชมีขนาดเล็กลงจะทำให้ จุลินทรีย์เจริญเติบโตในชิ้นส่วนของพืชได้ทั่วถึง เมื่อเศษพืชอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้นการแพร่ขยายของเชื้อก็เป็นไปได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณมากๆ การหั่นหรือการสับเศษพืชก็เป็นการสิ้นเปลืองแรงงานมาก อาจเลี่ยงไปใช้วิธีอื่น ได้ตามความเหมาะสม เช่น ถ้ามีรถแทรคแตอร์ก็โรยชิ้นส่วนพืชลงบนพื้นถนน แล้วใช้รถบดทับไปมา หรือใช้วิธีหาเศษพืชที่มีขนาดเล็ก เช่น เศษหญ้าผสมคลุกเคล้า เข้าไปในกองเพื่อลดช่องว่างที่มีอยู่ แต่ถ้ามีเศษหญ้าไม่พอก็อาจใช้ดินหรือ เศษหญ้าคลุมกองหรือเลี่ยงไปใช้วิธีกองปุ๋ยอินทรีย์ในหลุมหรือบ่อหมักแทน มูลสัตว์ปริมาณของมูลสัตว์ที่ต้องใช้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์นั้น ถ้ามีมากก็ใส่มากได้ ตามที่ต้องการ เพราะยิ่งใส่มากก็จะยิ่งทำให้เศษพืชแปรสภาพได้เร็วขึ้น แต่ไม่ ควรน้อยกว่ามูลสัตว์ 1 ส่วนต่อเศษพืช 10 ส่วน (คิดเทียบตามน้ำหนัก) ถ้ามีมูลสัตว์น้อยกว่านี้และเศษพืชที่ใช้ก็เป็นพวกที่สลายตัวยาก ก็ควรหาวัสดุ อื่นๆ ที่มีธาตุไนโตรเจนมากๆ มาเสริมทดแทน ความชื้นของกองปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ที่จะช่วยในการสลายวัสดุให้กลายเป็นปุ๋ยนั้น ต้องอาศัยน้ำ หรือความชื้นในการดำรงชีพ วัสดุที่นำมากองจึงต้องเปียกชื้น หรือต้องรดน้ำ ให้ การรดน้ำก็ต้องระมัดระวังพอสมควร โดยต้องรดน้ำให้อยู่ในระดับที่จุลินทรีย์ ในกองปุ๋ยสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุด นั่นคือรดน้ำพอแค่ให้เศษพืช โดยน้ำหนัก ซึ่งเราอาจกะประมาณคร่าวๆ ได้โดยวิธีใช้มือล้วงไปหยิบเอาเศษพืช ในกองปุ๋ยออกมาแล้วกำบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำไหลซึมออกมาตามซอกนิ้วไหลเป็น ทาง แสดงว่ากองปุ๋ยแฉะเกินไป ไม่ควรรดน้ำ แต่ควรทำการกลับกองปุ๋ยให้บ่อยขึ้น หรือหาวัสดุที่แห้งดูดซับน้ำได้ดี เช่น ขี้เลื่อย เศษพืชแห้งผสมคลุกเคล้าลง ไป ถ้าบีบดูแล้วมีน้ำซึมออกมาตามซอกนิ้ว แต่ไม่ถึงกับไหลเป็นทางแสดง ว่าความชื้นพอดีแล้ว แต่เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำซึมออกมาเลย แสดงว่าเศษพืชนั้น แห้งเกินไป ต้องรดน้ำเพิ่มเติม
3 .ส่วนผสม
โดยประมาณ ใน 100 ส่วน
6.1.1 ซากใบจามจุรี 40.0
6.1.2 ซากพืชอื่น ๆ 30.0
6.1.3 มูลวัวแห้ง 20.0
6.1.4 แกลบดำ 10.0
6.1.4 น้ำหมักชีวภาพ
วิธีการทำ
1 นำซากพืช ใบจามจุรีและมูลวัวมาทำการบดให้ละเอียด
2 ร่อนเอาเฉพาะส่วนที่ละเอียดเพื่อใช้เป็นส่วนผสม
3. ผสมคลุกเคล้าวัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบทั้งหมดให้เข้าด้วยกัน กรณีทําในปริมาณมากใช้เครื่องผสมหรือใช้โม่ช่วยผสม รดน้ำที่ผสมด้วยน้ำหมักชีวภาพตามอัตราส่วนที่กําหนดให้ทั่วกอง
4. บรรจุใส่ถุงหรือกระสอบเพื่อเตรียมไว้ใช้หรือจำหน่าย

5. สามารถนําปุ๋ยไปใช้ได้ แต่ควรใช้หลักในการพิจารณา ปุ้ยอินทรีย์ที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ที่พบ ว่าลักษณะของปุ๋ยที่ดีต้องมีราสีขาว มีกลิ่นของราหรือเห็ด กองปุ๋ยไม่ร้อน มีน้ำนักเบา เนื่องจากระยะเวลาในการหมักเปลี่ยนแปลงไปตามชนิดของเศษพืช ความชื้นในกองปุ๋ย การกลับกองปุ๋ย ขนาดของกองปุ๋ย ต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการของเกษตรกรเนื่องจากการใช้เศษพืชหรือวัสดุที่มีขนาดชิ้นเล็กๆจะย่อยสลายเร็วกว่าชิ้นใหญ้ การปรับความชื้นในกองปุ้ยได้เหมาะสม การช่วย กลับกองปุ๋ย และขนาดของกองปุ๋ยไม้ใหญ่หรือสูงมาก ปัจจัยเหล่านี้ ช่วยทําให้ปุ๋ยหมักย่อยสลายได้เร็วขึ้

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของเหลวที่ได้มาจากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ ลักษณะสดหรือ อวบน้ำ โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ได้เป็นของเหลวออกมาจากพืชหรือสัตว์ ประกอบด้วยกรดอินทรีย์และฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตหลายชนิด

อุปกรณ์ส่วนผสมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1. ปลาหรือหอยเชอรี่ 3 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน ผลไม้ 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน ใช้เวลาหมัก 21 วัน
2. ผักหรือผลไม้ 4 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วนใช้เวลาหมัก 7 วัน
3. ใช้สารเร่ง พด.2 1 ถุง ขนาด 50 กรัม ผลิตได้จำนวน 100 ลิตร
วิธีผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1. ละลายสารเร่ง พด.2 ในน้ำ 30 ลิตร ผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
2. ผสมเศษวัสดุและกากน้ำตาลลงในถังหมักขนาด 200 ลิตรแล้วเทสารละลาย พด.2 ในข้อ 1 ผสมลงในถังหมัก
3. คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันอีกครั้งและตั้งในอยู่ที่ร่ม
4. ในกรณีทำปุ๋ยอินทรีย์ปลา หรือ หอยเชอรี่ให้คนหรือกวน ทุก 7 วันเพื่อระบาย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท
การพิจารณาลักษณะที่ดีทางกายภาพในระหว่างการหมักเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1. การเจริญของจุลินทรีย์ ปรากฏเชื่อยีสต์และจุลินทรีย์ชนิดอื่นเจริญเต็มผิวหน้าของวัสดุหมักในช่วง 1-3 วันการหมัก
2. การเกิดฟองก๊าซ (CO2) มีฟองก๊าซเกิดขึ้นที่ผิวหน้าวัสดุและใต้ผิดวัสดุหมัก
3. การเกิดกลิ่นแอลกอฮอล์ ได้กลิ่นของแอลกอฮอล์ ค่อนข้างฉุนมาก
4. ความใสของสารละลาย เป็นของเหลวใสไม่ขุ่นและค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม
การพิจารณาปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่เสร็จสมบูรณ์
1. มีการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ น้อยลง
2. กลิ่นแอลกอฮอล์จะลดลง
3. มีกลิ่นเปรี้ยวเพิ่มขึ้นเนื่องจากเกิดกรดอินทรีย์เพิ่มขึ้น
4. ไม่ปรากฏก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือมีน้อยมาก
5. ได้สารละลายหรือของเหลวใสไม่ขุ่น
6. การวิเคราะห์สมบัติทางเคมี ค่าความเป็นกรดและด่างหรือ pH ของปุ๋ยอินทรีย์ระหว่าง 3-4
คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1. มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติค กรดอะซิติคและกรดฮิวมิค
2. มีฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ออกซิเจน ไซโตไคนิน และจิบเบอร์เรลลิน
3. มีค่าเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 3-4
อัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำกับพืช
ผสมปุ๋มอินทรีย์น้ำ 1 ส่วน กับน้ำ 500 ส่วน
วิธีใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ฉีดพ่นที่ใบและลำต้น หรือรดลงดิน 10 วัน ต่อครั้ง
ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1. เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
2. การขยายตัวของใบเพิ่มขึ้น และมีการยืดตัวของลำต้นมากขึ้น
3. ชักนำให้เกิดการงอกของเมล็ด
4. ส่งเสริมการออกดอกและติดผลดีขึ้น

ปุ๋ยน้ำหมักหอยเชอรี่

ปุ๋ยน้ำหมักหอยเชอรี่
วิธีทำปุ๋ยน้ำหมักหอยเชอรี่
สูตร 1 เพิ่มความแข็งแรงเจริญเติบโตทางลำต้นและเร่งการออกยอดอ่อน
1. หอยเชอรี่บดหรือทุบละเอียดทั้งเปลือกหรือวัสดุเหลือใช้ประเภทอาหาร จำนวน 3 ส่วน
2. น้ำตาลโมลาส จำนวน 3 ส่วน
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ (BE) จำนวน 1 ส่วน
4. ส่วนยอดของวัชพืชหรือพืชผักของเหลือใช้ต่างๆ เฉพาะส่วนยอด ถ้าจะใช้พืชสมุนไพรรวมไปด้วยก็ได้จำนวน 1 ส่วน
วิธีทำ
นำส่วนประกอบต่างๆ สับละเอียด เสร็จแล้วรวมเข้าด้วยกันบรรจุในถังหมักมีฝาปิดไว้ในร่ม ใช้ไม้คนเป็นครั้งคราว ถ้าน้ำแห้งหรือมีกลิ่นเหม็นให้เติมน้ำตาลโมลาสเพิ่ม หรือจะผสมน้ำสะอาดลงไปบ้างก็ได้ ทิ้งไว้ประมาณ15-30 วัน ไม่เกิดฟองอากาศ กลิ่นหอมคล้ายหัวเชื้อแป้งข้าวหมากเป็นอันว่าใช้ได้
สูตร 2 เพิ่มความแข็งแรงเจริญเติบโตทางลำต้นและเร่งการออกดอก
1. หอยเชอรี่บดหรือทุบละเอียดทั้งเปลือกหรือวัสดุเหลือใช้ประเภทอาหาร จำนวน 3 ส่วน
2. น้ำตาลโมลาส จำนวน 3 ส่วน
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ (BE) จำนวน 1 ส่วน
4. ส่วนโคนแก่ของวัชพืช ผัก หรือผลไม้สุกและจะเพิ่มสมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืชไปด้วยก็ได้ แต่เน้นส่วนแก่ๆ ของสมุนไพร จำนวน 1 ส่วน
วิธีทำ
นำส่วนประกอบต่างๆ สับหรือบดละเอียด เสร็จแล้วรวมเข้าด้วยกันบรรจุในถังหมัก ปฏิบัติเช่นเดียวกับสูตร 1
สูตร 3 เพิ่มความแข็งแรงเจริญเติบโตและส่วนต่างๆ ของพืช
1. หอยเชอรี่บดหรือทุบละเอียดทั้งเปลือกหรือวัสดุเหลือใช้ประเภทอาหาร จำนวน 3 ส่วน
2. น้ำตาลโมลาส จำนวน 3 ส่วน
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ (BE) จำนวน 1 ส่วน
4. ส่วนต่างๆ ของวัชพืช ผัก ผลไม้ที่ร่วงหล่นทั้งดิบ สุก รวมทั้งพืชสมุนไพรต่างๆ ที่ต้องการรวมกันจำนวน 1 ส่วน
วิธีทำ
นำส่วนประกอบต่างๆ สับหรือบดละเอียด เสร็จแล้วรวมเข้าด้วยกันบรรจุในถังหมัก ปฏิบัติเช่นเดียวกับสูตร 1วิธีใช้ปุ๋ยน้ำหมักหอยเชอรี่หรือวัสดุเหลือใช้ประเภทอาหารมนุษย์
1. เมื่อพืชอายุน้อย ระยะการเจริญเติบโตแรกๆ ให้ใช้อัตราส่วน 1: 500-1,000 หรือจากการทดสอบเบื้องต้นพบว่า อัตราเหมาะสมคือ 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ทุก 7-10 วัน/ครั้ง
2. เมื่อพืชอายุพ้นระยะกล้าไปแล้วใช้อัตราส่วน 20-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ทุก 7-10 วัน/ครั้ง หรือจะใช้บัวรดน้ำลาดที่โคนต้นพืชก็ได้
3. ควรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยน้ำหมักรองพื้นก่อนปลูก หรือใส่บริเวณโคนต้นพืชก่อนใช้ ปุ๋ยน้ำหมักจะทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นมาก
4. การบรรจุปุ๋ยน้ำหมักใส่กระติกน้ำหรือขวดควรให้มีช่องว่างในขวดบ้าง จะได้มีออกซิเจนให้จุลินทรีย์อายุยืนนาน
5. เมื่อน้ำในถังหมักแห้งโดยที่ส่วนผสมยังย่อยสลายไม่หมด ให้เติมน้ำตาลโมลาสและน้ำมะพร้าวหรือน้ำสะอาดเพิ่มเติมจนกว่าจะย่อยสลายหมด แล้วต้องหมักเตรียมไว้ใช้ใหม่ตามต้องการ
6. เมื่อน้ำหมักผสมกับน้ำแล้วควรใช้ให้หมดในแต่ละครั้ง ถ้าพ่นเวลาเช้าและเย็นจะมีประสิทธิภาพสูงสุด
7. น้ำหมักหอยเชอรี่เมื่อหมักได้ที่แล้วสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานปี บางครั้งจุลินทรีย์บางชนิดตายไปแต่ธาตุอาหารและฮอร์โมนยังอยู่ในปุ๋ยน้ำหมัก อยู่ที่วิธีการเก็บรักษาเท่านั้น
ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำหมักหอยเชอรี่หรือวัสดุเหลือใช้ประเภทอาหารมนุษย์
1. สร้างความต้านทานให้กับต้นพืชที่จะเกิดศัตรูพืชต่างๆ
2. เป็นปุ๋ยและอาหารเสริมประเภทโปรตีนและแร่ธาตุต่างๆ จำนวนมากแก่ต้นพืช
3. เป็นฮอร์โมนช่วยการเจริญเติบโตสำหรับพืช
4. เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชหลายกลุ่มชนิด ทำให้ดินร่วนซุยระบบรากหาอาหารได้ดี ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตได้
5. สามารถลดต้นทุนการผลิตด้านปุ๋ยเคมี สารเคมี ผู้ปลูก ผู้บริโภค ปลอดภัยจากสารพิษ
6. ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและศัตรูธรรมชาติ
7. ผสมน้ำอัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ให้ไก่กินประจำทุกวัน ทำให้สุขภาพสมบูรณ์ต้านทานการเกิดโรคได้
8. ผสมน้ำอัตราเข้มข้นลาด ถังขยะมูลฝอย ร่องระบายน้ำฝน ส้วมหรือคอกสัตว์ที่มีกลิ่นเหม็นต่างๆ ทำให้ดับกลิ่นได้ดี เป็นต้น


ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากปลาสูตร วท.
ผมเคยนำเสนอปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากปลาไปครั้งนึงแล้วครับ อันนี้เป็นอีกสูตรนึงครับไปเจอในเว็บของกรมส่งเสริมการเกษตรครับ ลองเอาไปทำดูครับ

ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากปลาสูตร วท.

ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากปลาสูตร วท.
ปุ๋ยปลาหมักเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากปลา ได้แก่ หัวปลา ก้างปลา หางปลา พุงปลา และเลือด ผ่านขบวนการหมักโดยการย่อยสลายโดยการใช้เอนไซม์ ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หลังจากหมักจนได้ที่แล้ว จะได้สารละลายสีน้ำตาลเข้ม ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม นอกจากนี้ปุ๋ยปลายังประกอบด้วยธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน และธาตุอาหารเสริมได้แก่ เหล็ก ทองแดง และแมงกานีส
นอกจากนี้ปุ๋ยปลายังประกอบด้วยโปรตีนและกรดอะมิโน ซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยสลายของโปรตีนในตัวปลา ซึ่งจากข้อมูลทางวิชาการบ่งชี้ชัดว่ากรดอะมิโนสามารถจับตัวกับธาตุอาหารปุ๋ยทำให้ ปุ๋ยสามารถดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชได้เร็วขึ้น ซึ่งตรงกับคำบอกเล่าของเกษตรกรที่พบว่าปุ๋ยปลาหมักช่วยพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ดอกไม้มีสีสดขึ้น ผลไม้มีคุณภาพดี และช่วยเร่งการแตกยอดและดอกใหม่ ตลอดจนการเพิ่มผลผลิตของพืช
ปุ๋ยปลาหมักเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากปลา ได้แก่ หัวปลา ก้างปลา หางปลา พุงปลา และเลือด ผ่านขบวนการหมักโดยการย่อยสลายโดยการใช้เอนไซม์ ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หลังจากหมักจนได้ที่แล้ว จะได้สารละลายสีน้ำตาลเข้ม ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม นอกจากนี้ปุ๋ยปลายังประกอบด้วยธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน และธาตุอาหารเสริมได้แก่ เหล็ก ทองแดง และแมงกานีส
นอกจากนี้ปุ๋ยปลายังประกอบด้วยโปรตีนและกรดอะมิโน ซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยสลายของโปรตีนในตัวปลา ซึ่งจากข้อมูลทางวิชาการบ่งชี้ชัดว่ากรดอะมิโนสามารถจับตัวกับธาตุอาหารปุ๋ยทำให้ ปุ๋ยสามารถดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชได้เร็วขึ้น ซึ่งตรงกับคำบอกเล่าของเกษตรกรที่พบว่าปุ๋ยปลาหมักช่วยพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ดอกไม้มีสีสดขึ้น ผลไม้มีคุณภาพดี และช่วยเร่งการแตกยอดและดอกใหม่ ตลอดจนการเพิ่มผลผลิตของพืช
สูตรที่ 1 หมักโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์
ส่วนผสม
1. เศษปลาบด 100 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม
3. เชื้อจุลินทรีย์ Lactobacillus sp. 20 ลิตร
วิธีทำนำส่วนผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน หมักไว้ในถังพลาสติกกันแสง ทิ้งไว้ 1-2 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยปลาหมักจากเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์สำหรับพืชและสัตว์ นอกจากนั้นหลังจากหมักเป็นปลาหมักแล้วยังสามารถนำปุ๋ยน้ำหมักปลาไปเป็นอาหารเสริมสำหรับสุกร ลดการติดเชื้อของโรคทางเดินอาหารของสุกรอีกด้วย
สูตร 2 หมักโดยใช้กรดอินทรีย์
ส่วนผสม
1. เศษปลาบด 100 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม
3. กรดกัดยางหรือกรดน้ำส้มสายชูเข้มข้น 3.5 ลิตร
วิธีทำ
นำส่วนผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน หมักไว้ในถังพลาสติกกันแสงและคนติดต่อกันอย่างน้อยเป็นเวลา 7 วัน หลังจากนั้นให้หมักทิ้งไว้ 1-2 เดือน จึงสามารถนำไปใช้งานได้
ข้อควรจำ
ปุ๋ยน้ำหมักที่หมักจากกรดอินทรีย์ อาจมีความเป็นกรดเหลืออยู่ ก่อนนำไปใช้ต้องทำการสะเทินกรด (กรดที่เหลือจะเป็นอันตรายต่อพืช ทำให้ใบไหม้ถ้าใช้ในความเข้มข้นสูง)ทำได้โดย การผสมหินฟอสเฟตบด (ปุ๋ยสูตร 0-3-0) ในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อปุ๋ยปลาจำนวน 100 ลิตร ในที่นี้อาจใช้กระดูกป่นหรือปูนขาวแทนการใช้หินฟอสเฟตบดได้

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
ปุ๋ยหมักชีวภาพคือ ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดิน สามารถผลิตได้มากใช้เวลาน้อย โดยการนำเศษวัสดุเหลือใช้ผสมคลุกเคล้าหมักรวมกับเศษมูลสัตว์ แกลบดำ รำละเอียด คลุมด้วยกระสอบป่านใช้เวลา 3 วัน สามารถนำไปใช้ได้
วัสดุการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
1. มูลสัตว์แห้งบดละเอียด 1 ปีบ
2. แกลบดำ 1 ปีบ
3. รำละเอียด 1 ก.ก.
4. น้าสกัดชีวภาพ
5. กากน้ำตาล
6. วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น แกลบ กากอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง ถั่วเขียว ขุยมะพร้าว อย่างไดอย่างหนึ่ง
วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
1. ผสมวัสดุเข้าด้วยกัน
2.รดน้ำผสมน้ำสกัดชีวภาพและกากน้ำตาล (ใช้น้ำตาลทรายแดงแทนได้)
อัตราส่วน น้ำ 10 ลิตร
น้าสกัดชีวภาพ 2 ช้อนแกง
กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง
จนปุ๋ยชื้นปั้นเป็นก้อนได้เมื่อแบมือ
3. กองปุ๋ยบนซีเมนต์ที่มีความหนาประมาณ 1 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 3 วัน สามารถนำไปใช้ได้
4. ลักษณะปุ๋ยที่ดีมีราขาว มีกลิ่นของราหรือเห็ด ไม่ร้อนมีน้ำหนักเบา
วิธีการใช้
1. ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพผสมดินในแปลงปลูกผักทุกชนิด อัตราปุ๋ย 1 ก.ก.ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม.
2.พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง ฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักแห้งรองก้นหลุมประมาณ 1 กำมือ
3. ไม้ผล ควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้าใบไม้และปุ๋ยหมักแห้ง ประมาณ 1-21 ปุ้งกี๋ ส่วนไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยรองทรงพุ่ม แล้วคลุมด้วยหญ้า ใบไม่ ฟางแห้ง4. ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยคอกหมักทุก 7 วัน ประมาณ 1 กำมือ

การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ

การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ
ปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรือที่เรียกว่าน้ำหมักจุลินทรีย์ ขยะหอม น้ำสกัดชีวภาพ หรือ EM (Effective Microorganisms) คือ สารละลายที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่างๆของพืชหรือสัตว์ โดยการหมักในสภาพไร้อากาศ
ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่หมักจนได้ที่แล้วจะมีสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งประกอบด้วยสารอาหาร ดังนี้
- ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
- ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
- ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก ทองแดง แมงกานีส
ปุ๋ยน้ำชีวภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผลิตจากพืชหรือขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้รสเปรี้ยว เศษผลไม้สีแดงสีเหลือง พืชสมุนไพร
- ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์ ได้แก่ ปลา หอยเชอรี่
ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- ใช้เป็นหัวเชื้อในการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์
- ใช้ในการกำจัดน้ำเสียและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ใช้ทำความสะอาดพื้นที่เลี้ยงสัตว์ - ใช้บำบัดกลิ่นเหม็นต่างๆ เช่น ห้องส้วม กองขยะ ท่อระบายน้ำ
- ใช้แทนปุ๋ยเคมี ข้อควรระวังเกี่ยวกับปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- การควบคุมปริมาณกากน้ำตาล เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นระหว่างการหมัก
- การควบคุมการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ โดยไม่ใช้ติดต่อกันหลายวันและ.ใช้ปริมาณที่เข้มข้นสูง
ข้อควรระวังเกี่ยวกับปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- การควบคุมปริมาณกากน้ำตาล เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นระหว่างการหมัก
- การควบคุมการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ โดยไม่ใช้ติดต่อกันหลายวันและ.ใช้ปริมาณที่เข้มข้นสูง
ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตจากพืชหรือขยะเปียก
ส่วนผสม
- เศษวัสดุเหลือใช้ 0.5 ถัง
- กากน้ำตาล 1 ลิตร - น้ำหมักจุลินทรีย์ 1 ลิตร
- น้ำสะอาด 0.5 ถัง
อุปกรณ์
- ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20-40 ลิตร
- ถุงปุ๋ย
ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์
ส่วนผสม
- เศษวัสดุเหลือใช้ 0.5 ถัง
- กากน้ำตาล 1 ลิตร
- น้ำหมักจุลินทรีย์ 1 ลิตร
- น้ำสะอาด 0.5 ถัง
อุปกรณ์
- ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20-40 ลิตร
- ไม้สำหรับคน
วิธีทำ
- เติมส่วนผสมทั้งหมดลงในถังแล้วปิดฝา หมักไว้ในที่ร่ม เป็นเวลา 1-2 เดือน
- คนส่วนผสมอย่างสม่ำเสมอในระหว่างการหมัก เพื่อให้เกิดการย่อยสลายดีขึ้น

การทำปุ๋ยหมักและการเตรียมดิน

การทำปุ๋ยหมักและการเตรียมดิน
การทำปุ๋ยหมักดิน
วัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมักดิน
1. ดินแห้งละเอียด 5 ปิ๊บ
2. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 2 ปิ๊บ
3. แกลบเผา 2 ปิ๊บ
4. รำละเอียด 2 ปิ๊บ
5. หัวเชื้อ EM 10 ซี.ซี.
6. กากน้ำตาล 10 ซี.ซี.
7. น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีการทำปุ๋ยหมักดิน
1. เตรียมหัวเชื้อ EM กากน้ำตาล น้ำสะอาด ผสมในถังอัตราส่วน 1/1/1000 (น้ำ 10 ลิตร เติมหัวเชื้อ EM 1 ช้อนโต๊ะ/ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ)
2. ผสมดิน มูลสัตว์ แกลบเผา และรำละเอียดให้เข้ากันเป็นอย่างดี
3. รดด้วยน้ำที่ผสม EM ให้กระจายอย่างทั่วถึงทุกส่วน คลุกส่วนผสมให้เข้ากันกับน้ำ EM จนได้ความชิ้น 50 %
4. วางกองกับพื้นโดยให้ปุ๋ยหมักดินสูงกว่าพื้นประมาณ 10 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้
5 วัน จนแห้งพอดีแล้วจึงนำไปใช้
ประโยชน์ของปุ๋ยหมักดิน ใช้ในการปลูกไม้กระถาง ผสมดินสำหรับเพาะชำ หรือผสมดินเพื่อปลูกไม้ยืนต้น
การเตรียมดินสำหรับการปลูกผักปลอดภัย
1. ไถดินเพื่อเตรียมยกร่อง และเก็บเศษวัสดุที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เศษแก้ว พลาสติก และสิ่งปฏิกูลอื่น ๆ ออกจากบริเวณดินที่ไถเสร็จแล้ว
2. ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดทำลายวัชพืช และเชื้อราต่าง ๆ ที่ปะปนอยู่ในดิน
3. ยกร่องดินที่ไถไว้ให้มีความกว้างยาว 1 X 3 เมตร
4. นำปุ๋ยหมักดินที่เตรียมไว้ โรยลงบนพื้นดินประมาณ 5 กิโลกรัมต่อ 1 ร่อง

ปุ๋ยหมักชีวภาพ วิธีทําปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ
ได้ “เก็บเอามาเล่า” นั้น ผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้เกิดผลสำเร็จคือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการ ตามแนวพระราชดำริ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนในภาคการผลิตและอุตสาหกรม ดังนั้น การรู้จักวิธีใช้ การปรับใช้ให้เข้าใจ ย่อมเกิดประโยชน์มหาศาล ขอเพียงมีความขยันหมั่นเพียร อดทนตั้งใจจริง ไม่พึ่งพาสารเคมี จะนำมา ซึ่งสภาพชีวิตที่ดี สังคมและประเทศชาติก็ย่อมดีขึ้นอย่างแน่นอน
ทุก วันนี้กระแสและความตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพ ซึ่งมีความ สำคัญอย่างยิ่งกำลังมาแรง ทุกประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทย จึงหันมาใช้กรรมวิธีแบบเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรธรรมชาติ กันแล้วอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย เนื่องจากใช้สารเคมีมานาน ๆนับสิบ ๆ ปี ทำให้จุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่อยู่ในดินและบนดินตายไปหมด เราต้องช่วยกันคืนจุลินทรีย์กลับบ้าน ซึ่งจะทำให้ดินที่เป็นรากฐานของชีวิตกลับเป็น “ดินมีชีวิต” อีกครั้ง เพื่อผลิตพืชผลปลอดภัย เลี้ยงมนุษยชาติต่อไป
การใช้เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรชีวภาพ หรือเกษตรธรรมชาติในเมืองไทย ขณะนี้มีอยู่หลายรูปแบบ หลายวิธี อาทิ การใช้ผักมาหมักกับกากน้ำตาล ได้น้ำสกัดชีวภาพ บางคนใช้สารเร่ง ซึ่งมีตั้งแต่ พด. 1 ถึง พด. 9 ของกรมพัฒนาที่ดินบางคนใช้ปุ๋ยสำเร็จรูปอัลจินัว ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บางคนใช้แค่มูลสัตว์เท่านั้น เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีใช้เวลา ต้นทุน และกรรมวิธีแตกต่างกันไป
ในที่นี้ขอแนะนำการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้เกษตรกร และผู้สนใจนำไป ใช้เพราะราคาถูก ทำได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา ปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการพิสูจน์จากหลาย สถาบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ได้ดี ไม่มีอันตรายกับคนหรือสัตว์ และเมื่อเรารู้จักการใช้จุลลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพดีพอจะสามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
1. ปุ๋ยชีวภาพ อีเอ็ม (EM) คืออะไร
EMย่อมาจาก Efective Microorganisms หมาย ถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวความคิดเรื่อง “ดินมีชีวิต” ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของ โลก จากนั้น ดร.อิหงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ.2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลปรากฏว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณ ประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10%
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10%
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80%จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย
ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลัง ขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป
ปุ๋ยชีวภาพ จุลินทรีย์มี 2 ประเภท
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Gacteria )
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)
จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้
จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มี ประโยชน์ต่อพืช สัตย์ และสิ่งแวดล้อมารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Aynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสีย ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กระดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน (Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็น จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใน ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อยหรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้ หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้ เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย
ปุ๋ยชีวภาพ ลักษณะทั่วไปของEM
EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้
• ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็น เกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
• ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
• เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและยาฆ่า เชื้อต่างๆ ได้
• เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิต
• EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
• เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย
ปุ๋ยชีวภาพ การดูแลเก็บรักษา
1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท
2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
3. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปหะปน
4. การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม ข้อสังเกตพิเศษ
• หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าวัชพืชที่ไม่ต้องการได้
• กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัวเมื่อเขย่าภาชนะฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
• เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟอง ขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองน้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
2. การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ
ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มี พิษภัย มีแต่ประโยชน์ ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและมุ่ง เน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและองค์กรทั่วโลกแล้วกว่า 30 ประเทศ อาทิ International Nature Farming Reserch Center Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Organization (EMRO) JAPAN, International Federation of Agriculture Movement (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ California Certified Organics Farmers ประเทศสหรัฐอเมริกา ซี่เป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติได้ ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ.1993 ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100%
สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM ไม่เป็น อันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ดังนี้
1. ใช้กับพืชทุกชนิด
2. ใช้กับการปศุสัตว์
3. ใช้กับการประมง
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์หลักของการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ
1. ลดต้นทุนการผลิต
2. ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม
3. ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติดี
4. สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี
5. ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ และจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคพัฒนาคุณภาพชีวิต
6. เป็นวิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้
3. จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ EM มีประโยชน์อย่างไร
การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึงการใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงานผลิต หรือ ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ
วิธีใช้และประโยชน์ EM สด
1. ใช้จุลินทรีย์น้ำกับพืช
• ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร) ใช้ ฉีด พ่นราด พืชต่างๆ ให้ทั่วจากดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม
• พืช ผัก ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน
• ไม้ดอก ไม้ประดับ เดือนละ 1 ครั้ง การใช้ จุลินทรีย์สดในดิน ควรมีอินทรียวัตถุปกคลุมด้วย เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง ฯลฯ เพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป
2. ใช้ในการทำ EM ขยายจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้งและอื่น
• (ดูรายละเอียดในการทำ )
3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)
• ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง
• ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร ใช้พ่นคอกให้สะอาด กำจัดกลิ่น
• หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน ฯลฯ 4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
• ใส่ห้องน้ำ – ห้องส้วม ใส่โถส้วมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์ละ ½ แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลาย ไม่มีกาก ทำให้ส้วมไม่เต็ม • กำจัดกลิ่น ด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาล ในอัตรา ส่วน 1:1:1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ : กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 1 ลิตร ) ฉีด พ่น ทุก 3 วัน • บำบัดน้ำเสีย 1:10,000 หรือ EM 2 ช้อนโต๊ะ :น้ำ 200 ลิตร
• ใช้กำจัดเศษอาหารหรือทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร (ดูรายละเอียดในการทำ)
• แก้ไขท่ออุดตัน EM 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ 5-7 วัน / ครั้ง
• ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน
• กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำ
- ใช้ ฉีด พ่น หรือ ราดลงไปในแหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม. - กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำ แล้วแต่สภาพความแห้ง หรือ ความเหม็น โดยผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วน
- ขยะแห้งประเภทกระดาษ ใบตอง เศษอาหารใช้ฉีดพ่น อัตรา EM ขยาย 1 ส่วนผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร
ปุ๋ยชีวภาพ วิธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย
1. ใช้กับพืชเหมือน EM สด
2. ใช้กับสัตว์
• ผสมน้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน
• ผสมน้ำ 1 : 1,000 ล้างคอก กำจัดกลิ่น
• ผสมน้ำ ในอัตรา : 1 : 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟางแห้ง เป็นอาหารสัตว์3. ใช้ทำจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้ง เหมือนใช้ EM สด
• (ดูรายละเอียดในการทำ)
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนใช้ EM สด
ประโยชน์ของจุลินทรีย์แห้ง
1. ใช้กับพืช
• รองก้นหลุม ร่วมกับอินทรียวัตถุ เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง
• คลุมดิน คือ โรยผิวดิน บนแปลงผัก หรือใต้ทรงพุ่มของต้นไม้
• ใส่ถุงแช่น้ำอัตรา 1 กก. : น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไป รดพืช ผัก
2. ใช้กับการประมง
• เพื่อสร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์ลงน้ำ
• เพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง
• ผสมอาหารสัตว์
3. ใช้กับปศุสัตว์
• ผสมอาหารให้สัตว์กิน
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
• เพื่อบำบัดกลิ่นร่วมกับEM ขยาย
• เพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับ EM ขยาย
• ใช้ในการหมักเศษอาหาร ทำจุลินทรีย์น้ำ
• ใช้ในขยะเปียกอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป
4. วิธีการผลิต EM ขยาย ปุ๋ยชีวภาพ ฮอร์โมน และสารไล่แมลงศัตรูพืช
4.1 EM ขยาย
คือการทำให้ได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรง มีประสิทธิภาพเพิ่มจำนวนมากโดยการ ใช้อาหารประเภทกากน้ำตาลหรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได้ส่วนผสม 1. EM 2 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาด 1 ลิตร
วิธีทำ • ใส่น้ำสะอาดในภาชนะที่เป็นขวดพลาสติกมีฝาเกลียว ตามส่วน (ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้วเพราะเมื่อจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนจะเกิดแก๊สทำให้ แตกได้)
• ใส่ EM ผสมกากน้ำตาลลงในน้ำที่เตรียมไว้ปิดฝาให้มิดชิด
• เขย่าให้ละลายเข้ากัน หมักไว้อย่างน้อย 3 – 5 วันวิธีใช้
• นำไปใช้ได้เหมือน EM สด (ยกเว้น การให้สัตว์กิน การฉีดพ่น เพื่อปรับอากาศ ไม่ต้องใส่กากน้ำตาล) และควรใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน
• เมื่อครบ 3 วันขึ้นไปนำไปขยายโดยใช้ส่วนผสมข้างต้นได้อีกวัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล ( 1 ช้อนโต๊ะ ) - น้ำ อ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าว น้ำชาวข้าว น้ำผลไม้ที่คั้น สดๆ อาทิ น้ำส้ม น้ำสับปะรด ฯลฯ ไม่
ใส่สารกันบูด หรือน้ำตาลทรายแดงผสมน้ำข้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแทนกากน้ำตาล ปริมาณ ¼ แก้ว - นมข้นหวาน นมเปรี้ยว น้ำอ้อยเคี่ยว น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปัสสาวะ ½ แก้ว
4.2 จุลินทรีย์น้ำ (ใช้ทันที)
ส่วนผสม 1. EM 1 ช้อนโต๊ะหรือ 1 ส่วน
2. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ส่วน
3. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1,000 ส่วน
วิธีทำ
• นำ EM และกากน้ำตาลผสมในน้ำให้เข้ากัน
• ในกรณีมีพื้นที่ต้องใช้ปุ๋ยน้ำมากให้เพิ่มตามสัดส่วน
วิธีใช้
• ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืช ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สัปดาห์ละครั้ง ใบและดอกจะดกบานทน
• ไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ชมพู่ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ ฉีดพ่น รด ราด เดือนละครั้ง รสชาติดี ผล โต
• วันอื่นๆ ให้รดน้ำพืชปกติ
• ควรใช้ช่วงเย็นแสงแดดอ่อนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• ควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน
ปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยหมัก หรือ จุลินทรีย์แห้ง (โบกาฉิ)
การทำจุลินทรีย์แห้ง หมายถึง การนำเอา EM มาหมักกับอินทรียวัตถุ เป็นการขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีจำนวนมากขึ้น แข็งแรงขึ้น และพักตัวอยู่ในอินทรีย วัตถุ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินให้ดินร่วนซุย มีธาตุอาหารที่ สำคัญเหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้ยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วยส่วนผสม
1. มูลสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ นำมาผึ่งให้แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
2. แกลบดิบ หรือ ฟางแห้ง หรือ หญ้าแห้ง หรือ ใบไม้แห้ หรือ ผักตบชวาแห้ง หรือ ขี้เลื่อย 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น หรือ คายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากันวิธีทำ
• คลุกรำละเอียด กับมูลสัตว์แห้งที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน
• นำแกลบดิบ หรือวัสดุ ที่ใช้แทนตัดสั้นๆ จุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM + กากน้ำตาล ไว้ ช้อนเอามา คลุกกับรำ และมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้ว คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
• ความชื้นให้ได้ 40-50% ดูได้จากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มีน้ำไหลออกจากง่ามนิ้ว และแตกเมื่อคลายมือออกหรือเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้
• นำส่วนผสมไปใส่กระสอบ ถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ ที่ อากาศถ่ายเทได้ ¾ ของกระสอบ ไม่ ต้องกดให้แน่น มัดปากกระสอบไว้พลิกกระสอบแต่ละด้านทุกวัน วันที่ 2-3 จับกระสอบดูจะร้อน อุณหภูมิประมาณ 50 องศา – 60 องศา วันที่ 4-5 จะค่อยๆ เย็นลง จนอุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดู จะได้จุลินทรีย์แห้งร่วนนำไปใช้ได้
• หากไม่มีกระสอบ หรือทำปริมาณมาก เมื่อผสมกันดีแล้ว ให้นำไปกองบนกระสอบป่าน หรือฟาง แห้งที่ใช้รองพื้นหนาประมาณ 1 ฟุต แล้วคลุมด้วยกระสอบ หรือ สแลน กลับวันละ 1-2 ครั้ง ให้ อากาศถ่ายเททั่วถึงประมาณ 5-7 วัน ดูให้อุณหภูมิปกติจุลินทรีย์แห้งร่วนดี เก็บใส่ถุงไว้ใช้
การทำป๋ยอินทรีย์ 2009
ความหมายปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย(Organic Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์ที่ไดมาจากสิ่งมีชีวิต เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ซากพืช หรือสัตว์ที่ไถกลบลงดิน รวมถึงพวกอินทรียสารที่เป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เช่น กากตะกอนอ้อย (filter cake) ทะลายปาล์ม เป็นต่น หน้าที่หลักของปุ๋ยอินทรีย์ คือ การปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ การทําให้ดินโปร่งร่วนซุย ให้ธาตุอาหารพืชค่อนข้างครบถ่วนและสมดุลดี ทั้งธาตุอาหารหลักและจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริม แต่ส่วนใหญ่จะมีธาตุอาหารหลักอยู่ในปริมาณต่ำ เกษตรกรจําเป็นต้องใช้ในประมาณค่อนข้างสูงมาก เมื่อใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์เพียงชนิดเดียว โดยไม่มีการใส่รวมกับปุ๋ยเคมี และหน้าที่ที่สําคัญมากอีกประการหนึ่ง ก็คือทําให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้น
ประวัติความเป็นมาของการปุ๋ยอินทรีย์
ในการทำการเกษตรของไทยถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุด จัดเป็นอาชีพที่คนส่วนใหญ่ทำกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทำไร่ ทำนา ทำสวน ในกระบวนการผลิตของเกษตรกรที่เป็นกระดูกสันหลังของประเทศนี้ ปัจจุบันมีกระแสของการต่อต้านการใช้สารปราบศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสารเคมีเกษตรนั้นจะถูกเหมารวมนอกจากสารกำจัดศัตรูพืชแล้ว ยังรวมทั้งปุ๋ยเคมีไปด้วย และในปัจจุบันเกษตรกรไทยได้หันมาทำปุ๋ยขึ้นใช้เอง โดยการนำเอามูลสัตว์ เศษพืชและขยะสดมาหมักและการเติมEMแล้วก็กากน้ำตาลลงไปด้วย

เทคนิคการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และอีกหลาย ๆ ชื่อ มีการให้คำจำกัดความในทางวิชาการที่ค่อนข้างหลากหลาย ในที่นี้ “ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ” หมายถึง สารธรรมชาติที่ได้จากกระบวนการหมักบ่ม วัตถุดิบจากธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งพืช และสัตว์จนสลายตัวสมบูรณ์เป็นฮิวมัส วิตามิน ฮอร์โมน และสารธรรมชาติต่าง ๆ (ดินป่า) ซึ่งเป็นทั้งอาหารของดิน (สิ่งมีชีวิตในดิน) ตัวเร่งการทำงาน (catalize) ของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน และอาศัยอยู่ปลายรากของพืช (แบคทีเรีย แอคติโนมัยซิส และเชื้อรา ฯลฯ) ที่สามารถสร้างธาตุอาหารกว่า 93 ชนิดให้แก่พืช ภายใต้หลักการกสิกรรมธรรมชาติที่ว่า “เลี้ยงดิน เพื่อให้ ดินเลี้ยงพืช” (Feed the soil and let the soil feed the plant) การให้ความสำคัญของดินด้วยการเคารพบูชาดินเสมือน “แม่” ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการดูแลรักษาดิน ที่เรียกว่า “พระแม่ธรณี” สังคมไทยได้พัฒนาการผลิตอาหารให้แก่ดิน หรือปัจจุบันเรียกว่า ปุ๋ย ไว้หลายรูปแบบ ด้วยเทคโนโลยีที่ลึกซึ้งแนบแน่นกับธรรมชาติ
ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
1. เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตในดิน เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา และแอคติโนมัยซิส
2. ให้ธาตุอาหาร และกระตุ้นให้จุลินทรีย์สร้างอาหารกว่า 93 ชนิดแก่พืช
3. ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติ และโครงสร้างดินให้ดีขึ้น
4. ช่วยดูดซับ หรือดูดยึดธาตุอาหารไว้ให้แก่พืช
5. ช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช
6. ช่วยกำจัด และต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคต่าง ๆ
7. ทำให้พืชสามารถสร้างพิษได้เอง สามารถต้านทานโรค และแมลงได้ดี
สูตรปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชนิดต่างๆ
ได้จากประสบการณ์ของเกษตรกร และนักวิชาการเครือข่ายต่าง ๆ ที่พัฒนามาจนได้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่มีคุณภาพ ให้คุณค่าทางธาตุอาหารโดยตรงแก่พืช และกระตุ้นให้จุลินทรีย์ในดินสร้างอาหารกว่า 93 ชนิดที่พืชต้องการ ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีธาตุอาหารเพียง 3 ชนิด (N P K) และได้คุณภาพของผลผลิตที่สูงกว่า ได้รสชาติที่ดีกว่า และต้นทุนที่ต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี โดยในปัจจุบันพบว่ามีสูตรการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมากกว่า 100 สูตร ซึ่งมีการพัฒนาการผลิตมาช้านานแต่ใช้ในวงจำกัดไม่แพร่หลายเหมือนกับปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพชนิดน้ำ
เป็นสารละลายสีน้ำตาลข้นที่ได้จากากรย่อยสลายของพืช หรือเซลล์สัตว์ โดยผ่านกระบวนการหมักของจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจน และไม่ต้องการออกซิเจน ด้วยการเติมน้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาลให้เป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลาย ซึ่งมี จุลินทรีย์ในกลุ่มแบคทีเรีย อาทิเช่น Bacillus sp., Lactobacillus sp., Streptococcus sp. กลุ่มเชื้อรา อาทิเช่น Aspergillus niger, Pennicillium sp., Rhizopus และกลุ่มยีสต์ อาทิเช่น Canida sp. ฉะนั้นให้น้ำสกัดอินทรีย์ชีวภาพที่ผ่านกระบวนการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์แล้ว จึงประกอบด้วยจุลินทรีย์หลากหลายาชนิด และสารประกอบจากเซลล์พืช เซลล์สัตว์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดตร โปรตีน กรดอะมิโน ธาตุอาหาร เอ็นไซม์ และฮอร์โมนพืช ในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ดังเช่นสูตรตัวอย่างต่างๆ