ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ

2552/08/30

การทำปุ๋ยอินทรีย์

การทำปุ๋ยอินทรีย์
1 .มาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพดี ได้มาตรฐานให้พิจารณาดังนี้
1. มีเกรดปุ๋ยไม่ต่ำกว่า 1:1:0.5 (ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม)
2 .มีความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ไม่
มากกว่าร้อยละ 35 - 40 โดยน้ำหนัก
3 .ความชื้นเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0 - 7.5
4 .ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ได้แล้วจะต้องไม่มีความร้อนหลงเหลืออยู่
5. ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ได้แล้วไม่ควรมีวัสดุเจือปนอื่น ๆ
6 .จะต้องมีปริมาณอินทรีย์วัตถุอยู่ระหว่าง 25 - 50 %
7 .จะต้องมีอัตราส่วนระหว่างธาตุคาร์บอนต่อไนโตรเจนไม่มากกว่า 20 ต่อ 1
8 .มีค่าการนำไฟฟ้าไม่เกิน 3.5 เดซิซีเมนต่อเมตร
2 .การเลือกวัสดุที่ใช้หมัก
วัสดุที่สามารถนำมาใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่เศษซากของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ แต่โดยปกติแล้ว ใน บ้านเราส่วนใหญ่จะได้มาจากพืชมากกว่า ดังนั้น วัสดุที่ใช้หมักจึงเพ่งเล็งไปถึงการใช้เศษซากพืชเป็นสำคัญ ซึ่งก็มีอยู่มากมาย หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นเศษพืชที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการ เกษตร เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ต้นข้าวฟ่าง ต้นถั่ว ฝ้าย เศษผัก กากอ้อย แกลบ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ผักตบชวา เศษหญ้า หรือวัชพืชต่างๆ แม้แต่พวกเศษขยะตามอาคารบ้านเรือน เช่น เศษกระดาษ ใบตอง กิ่งไม้ใบไม้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถรวบรวมมาทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ทั้งสิ้น วัสดุเหล่านี้เมื่อนำมา ทำปุ๋ยอินทรีย์ บางชนิดก็ย่อยสลายได้ง่าย รวดเร็ว บางชนิดก็ย่อยสลายได้ช้า ขึ้นอยู่กับเนื้อของวัสดุเหล่านั้น ว่ามีส่วนที่จุลินทรีย์สามารถใช้เป็นอาหารได้ยาก หรือง่าย และมีแร่ธาตุอาหารอยู่พอเพียงกับความต้องการของจุลินทรีย์หรือไม่

ตาราง ค่าเฉลี่ยปริมาณธาตุไนโตรเจนที่มีอยู่ในวัสดุชนิดต่างๆ

ชนิดของวัสดุ ปริมาณธาตุไนโตรเจน
(กิโลกรัม ต่อ วัสดุแห้ง 100 กิโลกรัม )
ตะกอนน้ำเสีย 2.0-6.0
มูลเป็ด – ไก่ 3.5-5.0
มูลสุกร 3.0
ต้นถั่วต่างๆ 2.0-3.0
ผักตบชวา 2.2-2.5
มูลม้า 2.0
มูลวัว – ควาย 1.2-2.0
เปลือกถั่วลิสง 1.6-1.8
ต้นฝ้าย 1.0-1.5
ต้นข้าวฟ่าง 1.0
ต้นข้าวโพด 0.7-1.0
ใบไม้แห้ง 0.4-1.5
ฟางข้าว 0.4-0.6
หญ้าแห้ง 0.3-2.0
กาบมะพร้าว 0.5
แกลบ 0.3-0.5
กากอ้อย 0.3-0.4
ขี้เลื่อยเก่า 0.2
ขี้เลื่อยใหม่ 0.1
เศษกระดาษ แทบไม่มี

ควรสับหรือหั่นให้มีขนาดเล็กลง แต่ก็ไม่ควรให้สั้นกว่า 2-3 นิ้ว การทำให้ เศษพืชมีขนาดเล็กลงจะทำให้ จุลินทรีย์เจริญเติบโตในชิ้นส่วนของพืชได้ทั่วถึง เมื่อเศษพืชอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้นการแพร่ขยายของเชื้อก็เป็นไปได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณมากๆ การหั่นหรือการสับเศษพืชก็เป็นการสิ้นเปลืองแรงงานมาก อาจเลี่ยงไปใช้วิธีอื่น ได้ตามความเหมาะสม เช่น ถ้ามีรถแทรคแตอร์ก็โรยชิ้นส่วนพืชลงบนพื้นถนน แล้วใช้รถบดทับไปมา หรือใช้วิธีหาเศษพืชที่มีขนาดเล็ก เช่น เศษหญ้าผสมคลุกเคล้า เข้าไปในกองเพื่อลดช่องว่างที่มีอยู่ แต่ถ้ามีเศษหญ้าไม่พอก็อาจใช้ดินหรือ เศษหญ้าคลุมกองหรือเลี่ยงไปใช้วิธีกองปุ๋ยอินทรีย์ในหลุมหรือบ่อหมักแทน มูลสัตว์ปริมาณของมูลสัตว์ที่ต้องใช้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์นั้น ถ้ามีมากก็ใส่มากได้ ตามที่ต้องการ เพราะยิ่งใส่มากก็จะยิ่งทำให้เศษพืชแปรสภาพได้เร็วขึ้น แต่ไม่ ควรน้อยกว่ามูลสัตว์ 1 ส่วนต่อเศษพืช 10 ส่วน (คิดเทียบตามน้ำหนัก) ถ้ามีมูลสัตว์น้อยกว่านี้และเศษพืชที่ใช้ก็เป็นพวกที่สลายตัวยาก ก็ควรหาวัสดุ อื่นๆ ที่มีธาตุไนโตรเจนมากๆ มาเสริมทดแทน ความชื้นของกองปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ที่จะช่วยในการสลายวัสดุให้กลายเป็นปุ๋ยนั้น ต้องอาศัยน้ำ หรือความชื้นในการดำรงชีพ วัสดุที่นำมากองจึงต้องเปียกชื้น หรือต้องรดน้ำ ให้ การรดน้ำก็ต้องระมัดระวังพอสมควร โดยต้องรดน้ำให้อยู่ในระดับที่จุลินทรีย์ ในกองปุ๋ยสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุด นั่นคือรดน้ำพอแค่ให้เศษพืช โดยน้ำหนัก ซึ่งเราอาจกะประมาณคร่าวๆ ได้โดยวิธีใช้มือล้วงไปหยิบเอาเศษพืช ในกองปุ๋ยออกมาแล้วกำบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำไหลซึมออกมาตามซอกนิ้วไหลเป็น ทาง แสดงว่ากองปุ๋ยแฉะเกินไป ไม่ควรรดน้ำ แต่ควรทำการกลับกองปุ๋ยให้บ่อยขึ้น หรือหาวัสดุที่แห้งดูดซับน้ำได้ดี เช่น ขี้เลื่อย เศษพืชแห้งผสมคลุกเคล้าลง ไป ถ้าบีบดูแล้วมีน้ำซึมออกมาตามซอกนิ้ว แต่ไม่ถึงกับไหลเป็นทางแสดง ว่าความชื้นพอดีแล้ว แต่เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำซึมออกมาเลย แสดงว่าเศษพืชนั้น แห้งเกินไป ต้องรดน้ำเพิ่มเติม
3 .ส่วนผสม
โดยประมาณ ใน 100 ส่วน
6.1.1 ซากใบจามจุรี 40.0
6.1.2 ซากพืชอื่น ๆ 30.0
6.1.3 มูลวัวแห้ง 20.0
6.1.4 แกลบดำ 10.0
6.1.4 น้ำหมักชีวภาพ
วิธีการทำ
1 นำซากพืช ใบจามจุรีและมูลวัวมาทำการบดให้ละเอียด
2 ร่อนเอาเฉพาะส่วนที่ละเอียดเพื่อใช้เป็นส่วนผสม
3. ผสมคลุกเคล้าวัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบทั้งหมดให้เข้าด้วยกัน กรณีทําในปริมาณมากใช้เครื่องผสมหรือใช้โม่ช่วยผสม รดน้ำที่ผสมด้วยน้ำหมักชีวภาพตามอัตราส่วนที่กําหนดให้ทั่วกอง
4. บรรจุใส่ถุงหรือกระสอบเพื่อเตรียมไว้ใช้หรือจำหน่าย

5. สามารถนําปุ๋ยไปใช้ได้ แต่ควรใช้หลักในการพิจารณา ปุ้ยอินทรีย์ที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ที่พบ ว่าลักษณะของปุ๋ยที่ดีต้องมีราสีขาว มีกลิ่นของราหรือเห็ด กองปุ๋ยไม่ร้อน มีน้ำนักเบา เนื่องจากระยะเวลาในการหมักเปลี่ยนแปลงไปตามชนิดของเศษพืช ความชื้นในกองปุ๋ย การกลับกองปุ๋ย ขนาดของกองปุ๋ย ต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการของเกษตรกรเนื่องจากการใช้เศษพืชหรือวัสดุที่มีขนาดชิ้นเล็กๆจะย่อยสลายเร็วกว่าชิ้นใหญ้ การปรับความชื้นในกองปุ้ยได้เหมาะสม การช่วย กลับกองปุ๋ย และขนาดของกองปุ๋ยไม้ใหญ่หรือสูงมาก ปัจจัยเหล่านี้ ช่วยทําให้ปุ๋ยหมักย่อยสลายได้เร็วขึ้

ไม่มีความคิดเห็น: