ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ

2552/08/30

การทำป๋ยอินทรีย์ 2009
ความหมายปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย(Organic Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์ที่ไดมาจากสิ่งมีชีวิต เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ซากพืช หรือสัตว์ที่ไถกลบลงดิน รวมถึงพวกอินทรียสารที่เป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เช่น กากตะกอนอ้อย (filter cake) ทะลายปาล์ม เป็นต่น หน้าที่หลักของปุ๋ยอินทรีย์ คือ การปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ การทําให้ดินโปร่งร่วนซุย ให้ธาตุอาหารพืชค่อนข้างครบถ่วนและสมดุลดี ทั้งธาตุอาหารหลักและจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริม แต่ส่วนใหญ่จะมีธาตุอาหารหลักอยู่ในปริมาณต่ำ เกษตรกรจําเป็นต้องใช้ในประมาณค่อนข้างสูงมาก เมื่อใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์เพียงชนิดเดียว โดยไม่มีการใส่รวมกับปุ๋ยเคมี และหน้าที่ที่สําคัญมากอีกประการหนึ่ง ก็คือทําให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้น
ประวัติความเป็นมาของการปุ๋ยอินทรีย์
ในการทำการเกษตรของไทยถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุด จัดเป็นอาชีพที่คนส่วนใหญ่ทำกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทำไร่ ทำนา ทำสวน ในกระบวนการผลิตของเกษตรกรที่เป็นกระดูกสันหลังของประเทศนี้ ปัจจุบันมีกระแสของการต่อต้านการใช้สารปราบศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสารเคมีเกษตรนั้นจะถูกเหมารวมนอกจากสารกำจัดศัตรูพืชแล้ว ยังรวมทั้งปุ๋ยเคมีไปด้วย และในปัจจุบันเกษตรกรไทยได้หันมาทำปุ๋ยขึ้นใช้เอง โดยการนำเอามูลสัตว์ เศษพืชและขยะสดมาหมักและการเติมEMแล้วก็กากน้ำตาลลงไปด้วย

เทคนิคการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และอีกหลาย ๆ ชื่อ มีการให้คำจำกัดความในทางวิชาการที่ค่อนข้างหลากหลาย ในที่นี้ “ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ” หมายถึง สารธรรมชาติที่ได้จากกระบวนการหมักบ่ม วัตถุดิบจากธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งพืช และสัตว์จนสลายตัวสมบูรณ์เป็นฮิวมัส วิตามิน ฮอร์โมน และสารธรรมชาติต่าง ๆ (ดินป่า) ซึ่งเป็นทั้งอาหารของดิน (สิ่งมีชีวิตในดิน) ตัวเร่งการทำงาน (catalize) ของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน และอาศัยอยู่ปลายรากของพืช (แบคทีเรีย แอคติโนมัยซิส และเชื้อรา ฯลฯ) ที่สามารถสร้างธาตุอาหารกว่า 93 ชนิดให้แก่พืช ภายใต้หลักการกสิกรรมธรรมชาติที่ว่า “เลี้ยงดิน เพื่อให้ ดินเลี้ยงพืช” (Feed the soil and let the soil feed the plant) การให้ความสำคัญของดินด้วยการเคารพบูชาดินเสมือน “แม่” ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการดูแลรักษาดิน ที่เรียกว่า “พระแม่ธรณี” สังคมไทยได้พัฒนาการผลิตอาหารให้แก่ดิน หรือปัจจุบันเรียกว่า ปุ๋ย ไว้หลายรูปแบบ ด้วยเทคโนโลยีที่ลึกซึ้งแนบแน่นกับธรรมชาติ
ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
1. เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตในดิน เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา และแอคติโนมัยซิส
2. ให้ธาตุอาหาร และกระตุ้นให้จุลินทรีย์สร้างอาหารกว่า 93 ชนิดแก่พืช
3. ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติ และโครงสร้างดินให้ดีขึ้น
4. ช่วยดูดซับ หรือดูดยึดธาตุอาหารไว้ให้แก่พืช
5. ช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช
6. ช่วยกำจัด และต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคต่าง ๆ
7. ทำให้พืชสามารถสร้างพิษได้เอง สามารถต้านทานโรค และแมลงได้ดี
สูตรปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชนิดต่างๆ
ได้จากประสบการณ์ของเกษตรกร และนักวิชาการเครือข่ายต่าง ๆ ที่พัฒนามาจนได้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่มีคุณภาพ ให้คุณค่าทางธาตุอาหารโดยตรงแก่พืช และกระตุ้นให้จุลินทรีย์ในดินสร้างอาหารกว่า 93 ชนิดที่พืชต้องการ ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีธาตุอาหารเพียง 3 ชนิด (N P K) และได้คุณภาพของผลผลิตที่สูงกว่า ได้รสชาติที่ดีกว่า และต้นทุนที่ต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี โดยในปัจจุบันพบว่ามีสูตรการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมากกว่า 100 สูตร ซึ่งมีการพัฒนาการผลิตมาช้านานแต่ใช้ในวงจำกัดไม่แพร่หลายเหมือนกับปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพชนิดน้ำ
เป็นสารละลายสีน้ำตาลข้นที่ได้จากากรย่อยสลายของพืช หรือเซลล์สัตว์ โดยผ่านกระบวนการหมักของจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจน และไม่ต้องการออกซิเจน ด้วยการเติมน้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาลให้เป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลาย ซึ่งมี จุลินทรีย์ในกลุ่มแบคทีเรีย อาทิเช่น Bacillus sp., Lactobacillus sp., Streptococcus sp. กลุ่มเชื้อรา อาทิเช่น Aspergillus niger, Pennicillium sp., Rhizopus และกลุ่มยีสต์ อาทิเช่น Canida sp. ฉะนั้นให้น้ำสกัดอินทรีย์ชีวภาพที่ผ่านกระบวนการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์แล้ว จึงประกอบด้วยจุลินทรีย์หลากหลายาชนิด และสารประกอบจากเซลล์พืช เซลล์สัตว์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดตร โปรตีน กรดอะมิโน ธาตุอาหาร เอ็นไซม์ และฮอร์โมนพืช ในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ดังเช่นสูตรตัวอย่างต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น: