ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ

2552/08/30

ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากปลาสูตร วท.

ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากปลาสูตร วท.
ปุ๋ยปลาหมักเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากปลา ได้แก่ หัวปลา ก้างปลา หางปลา พุงปลา และเลือด ผ่านขบวนการหมักโดยการย่อยสลายโดยการใช้เอนไซม์ ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หลังจากหมักจนได้ที่แล้ว จะได้สารละลายสีน้ำตาลเข้ม ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม นอกจากนี้ปุ๋ยปลายังประกอบด้วยธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน และธาตุอาหารเสริมได้แก่ เหล็ก ทองแดง และแมงกานีส
นอกจากนี้ปุ๋ยปลายังประกอบด้วยโปรตีนและกรดอะมิโน ซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยสลายของโปรตีนในตัวปลา ซึ่งจากข้อมูลทางวิชาการบ่งชี้ชัดว่ากรดอะมิโนสามารถจับตัวกับธาตุอาหารปุ๋ยทำให้ ปุ๋ยสามารถดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชได้เร็วขึ้น ซึ่งตรงกับคำบอกเล่าของเกษตรกรที่พบว่าปุ๋ยปลาหมักช่วยพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ดอกไม้มีสีสดขึ้น ผลไม้มีคุณภาพดี และช่วยเร่งการแตกยอดและดอกใหม่ ตลอดจนการเพิ่มผลผลิตของพืช
ปุ๋ยปลาหมักเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากปลา ได้แก่ หัวปลา ก้างปลา หางปลา พุงปลา และเลือด ผ่านขบวนการหมักโดยการย่อยสลายโดยการใช้เอนไซม์ ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หลังจากหมักจนได้ที่แล้ว จะได้สารละลายสีน้ำตาลเข้ม ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม นอกจากนี้ปุ๋ยปลายังประกอบด้วยธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน และธาตุอาหารเสริมได้แก่ เหล็ก ทองแดง และแมงกานีส
นอกจากนี้ปุ๋ยปลายังประกอบด้วยโปรตีนและกรดอะมิโน ซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยสลายของโปรตีนในตัวปลา ซึ่งจากข้อมูลทางวิชาการบ่งชี้ชัดว่ากรดอะมิโนสามารถจับตัวกับธาตุอาหารปุ๋ยทำให้ ปุ๋ยสามารถดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชได้เร็วขึ้น ซึ่งตรงกับคำบอกเล่าของเกษตรกรที่พบว่าปุ๋ยปลาหมักช่วยพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ดอกไม้มีสีสดขึ้น ผลไม้มีคุณภาพดี และช่วยเร่งการแตกยอดและดอกใหม่ ตลอดจนการเพิ่มผลผลิตของพืช
สูตรที่ 1 หมักโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์
ส่วนผสม
1. เศษปลาบด 100 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม
3. เชื้อจุลินทรีย์ Lactobacillus sp. 20 ลิตร
วิธีทำนำส่วนผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน หมักไว้ในถังพลาสติกกันแสง ทิ้งไว้ 1-2 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยปลาหมักจากเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์สำหรับพืชและสัตว์ นอกจากนั้นหลังจากหมักเป็นปลาหมักแล้วยังสามารถนำปุ๋ยน้ำหมักปลาไปเป็นอาหารเสริมสำหรับสุกร ลดการติดเชื้อของโรคทางเดินอาหารของสุกรอีกด้วย
สูตร 2 หมักโดยใช้กรดอินทรีย์
ส่วนผสม
1. เศษปลาบด 100 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม
3. กรดกัดยางหรือกรดน้ำส้มสายชูเข้มข้น 3.5 ลิตร
วิธีทำ
นำส่วนผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน หมักไว้ในถังพลาสติกกันแสงและคนติดต่อกันอย่างน้อยเป็นเวลา 7 วัน หลังจากนั้นให้หมักทิ้งไว้ 1-2 เดือน จึงสามารถนำไปใช้งานได้
ข้อควรจำ
ปุ๋ยน้ำหมักที่หมักจากกรดอินทรีย์ อาจมีความเป็นกรดเหลืออยู่ ก่อนนำไปใช้ต้องทำการสะเทินกรด (กรดที่เหลือจะเป็นอันตรายต่อพืช ทำให้ใบไหม้ถ้าใช้ในความเข้มข้นสูง)ทำได้โดย การผสมหินฟอสเฟตบด (ปุ๋ยสูตร 0-3-0) ในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อปุ๋ยปลาจำนวน 100 ลิตร ในที่นี้อาจใช้กระดูกป่นหรือปูนขาวแทนการใช้หินฟอสเฟตบดได้

ไม่มีความคิดเห็น: